top of page

Logical Positivism as Ridiculous!


ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์สมมติ (ควรศึกษาตำแหน่งของหมากบนกระดานโดยละเอียดก่อนอ่าน)

Lyotard "ขาวเดินก่อน ทำจนได้ในกี่ที" Foucault "2 ที" Lacan "แสดงให้ดูหน่อยสิครับ" Foucault "ไม่เห็นยาก เดินคิงไป e6 ตาต่อไปไม่ว่าดำจะเดินอะไร ผมโปรโมตเบี้ยเป็นควีนรุกที่ g8 จน" Lyotard "ไม่จนจ่ะ เพราะผมจะเข้าป้อมฝั่งควีน" Lacan "ถ้าแบบนั้น แปลว่าตาที่แล้ว ฝ่ายดำของ Lyotard เดินเบี้ย e7 ไป e5 สินะครับ" Lacan รู้ว่านี่เป็นเพียงคำอธิบายอดีตเดียวที่เป็นไปได้ เพราะ (1.) Lyotard โต้ตอบการเดินคิงไป e6 ของ Foucault ด้วยการเข้าป้อม และ (2.) เป็นไปไม่ได้ที่ตาก่อนหน้านั้นจะเป็นการเดินเบี้ยดำจาก e6 ไป e5 เนื่องจากตำแหน่งของคิงที่ f5 Foucault "โอเค งั้นผมเอาใหม่ ไม่เดินคิงไป e6 ล่ะ แต่จะใช้เบี้ย d5 กินเบี้ยดำแทนตามกฎ en passant" นั่นคือเดินเบี้ย d5 ไปยัง e6 เพื่อกินเบี้ยดำซึ่งขณะนี้อยู่ตรงตำแหน่ง e5 Lacan "ว้าว แบบนี้ ไม่ว่า Lyotard จะเข้าป้อมหรือไม่เข้าป้อม ก็จะจนในตาต่อไปใช่มั้ยครับ" Foucault "ใช่แล้ว ถ้าเข้าป้อม ผมก็จะใช้เดินเบี้ยไปรุกที่ b7 ถ้าไม่เข้าป้อม เบี้ย g7 จะโปรโมตเป็นควีนหรือเรือรุกที่ g8 จนแน่นอน"

Foucault หัวเราะร่า Lyotard ยิ้มเจ้าเล่ห์ ทันใดนั้น Lacan ฉุกใจคิดอะไรขึ้นมาบางอย่าง Lyotard "คุณเอา information ปัจจุบันกลับไปในอดีตไม่ได้นะ Michel Foucault!" Lacan "จริงด้วย ทันทีที่คุณพูดว่า 'งั้นเอาใหม่' แล้วตัดสินใจใช้ en passant คุณจะใช้มันได้ก็ต่อเมื่อรู้ว่าคุณ Lyotard เดินเบี้ยจาก e7 ไป e5 คำถามคือคุณรู้ได้ยังไง, มีอะไรบนกระดานพิสูจน์การเดินเบี้ยของ Lyotard ได้เหรอครับ, คุณรู้ว่า Lyotard เดินเบี้ยก็จากการที่คุณเดินคิงไป e6 แล้วเห็นว่า Lyotard เข้าป้อม นั่นเท่ากับคุณใช้ความรู้จากในอนาคต! และทันทีที่คุณเอาใหม่ หากปราศจากความรู้ในอนาคต คุณไม่มีทางพิสูจน์ได้เลยว่าตาที่แล้ว Lyotard เดินเบี้ย" Foucault "น่าสนใจมาก ทั้ง ๆ ที่เราไม่มีทางพิสูจน์ได้ แม้แต่แสดงให้เห็นก็ไม่สามารถแสดงได้ นอกจากจะยินยอมให้เอาความรู้ในอนาคตมาใช้อธิบายอดีต แต่เรากลับตอบได้ว่า 2 ที"

ปัญหาข้อนี้คือ indemonstrable mate in 2 moves ของ Raymond Smullyan ปัญหาข้อนี้คุณสามารถตอบได้ว่าขาวทำจนใน 2 ที แต่คุณไม่มีทางที่จะแสดงมันออกมาหรือพิสูจน์ได้ อาจารย์ Bernd Graefrath ใช้ตัวอย่างโจทย์ข้อนี้ของ Smullyan เป็นเครื่องยืนยันชั้นดีในคำพูดของ อาจารย์ Smullyan เองที่ว่า "I have always regarded logical positivism as ridiculous!" (ผมถือว่าปฏิฐานนิยมทางตรรกะเป็นเรื่องน่าหัวร่อ)

ภาพ: ถ่ายจากบทความ To Know the Past One Must First Know the Future: Raymond Smullyan and the Mysteries of Retrograde Analysis โดย Bernd Graefrath ซึ่งเป็นบทที่ 1 ในหนังสือ Philosophy Looks at Chess


bottom of page