top of page

Consequence Argument ของ Peter van Inwagen


ใน An Essay on Free Will (1983) โปรเฟสเซอร์ Peter van Inwagen ใช้ consequence argument โจมตี compatibilism

Compatibilism คือ ความคิดที่ว่าการกระทำทั้งหมดของเรา สามารถอธิบายได้ (หรือถูกกำหนด) ด้วยกฎทางกายภาพ (determinism) แต่ขณะเดียวกัน เราก็สามารถมี free will ในแง่ที่มันจำเป็นต่อความรับผิดชอบทางศีลธรรม นั่นคือความคิดเกี่ยวกับ free will กับ determinism เป็นความคิดที่ compatible กัน van Inwagen บอกว่า compatibilism ผิด ต่อไปนี้เป็นข้อโต้แย้งหนึ่งของแกฮะ

กำหนดให้ U เป็นคำบรรยายที่สมบูรณ์ของสถานะของเอกภพ ณ ปัจจุบัน, U-1 คือ คำบรรยายที่สมบูรณ์ของสถานะของเอกภพก่อนที่คุณ X จะเกิด, A เป็นการกระทำบางอย่างที่ X ไม่ได้กระทำ, และ L เป็นกฎธรรมชาติ 1. X ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง U-1 ได้ พูดอีกอย่างว่า ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะของเอกภพก่อนที่เขาหรือเธอจะเกิดได้ 2. X ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง L นั่นคือ ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงกฎธรรมชาติได้ 3. ถ้า determinism เป็นจริง แล้ว {(U-1 และ L) ⊨ U}

เครื่องหมาย Double turnstile คือ entail, ข้อความนี้แปลว่า ถ้า determinism เป็นจริง แล้ว U เป็นผลสืบเนื่องทางตรรกะจาก U-1 กับ L, จากนิยามของ determinism เอง

4. ถ้า X ได้ทำ A แล้ว ¬U

เครื่องหมาย ¬ คือ negation, ข้อความนี้แปลว่า ถ้า X กระทำ A แล้วล่ะก็ คำบรรยายที่สมบูรณ์ของสถานะของเอกภพ ณ ปัจจุบันย่อมไม่ใช่ U

5. [จากข้อ 4.] ถ้า X สามารถทำ A ได้ แล้ว X สามารถทำให้ U เป็นเท็จได้ 6. [จาก 3. กับ transposition: (P → Q) ⇔ (¬Q → ¬P)] ถ้า X สามารถทำให้ U เป็นเท็จได้ แล้ว X สามารถทำให้ (U-1 และ L) เป็นเท็จได้ 7. [จากข้อ 6., 1., กฎของเดอมอร์แกน: ¬(P และ Q) ⇔ (¬P หรือ ¬Q), กับ disjunctive syllogism หรือ modus tollendo ponens: เมื่อเหตุหรือข้ออ้างคือ (1) P หรือ Q กับ (2) ¬P เราสามารถสรุปได้ว่า Q ] ถ้า X สามารถทำให้ (U-1 และ L) เป็นเท็จได้ แล้ว X สามารถทำให้ L เป็นเท็จได้ 8. [จาก 2.] X ไม่สามารถทำให้ L เป็นเท็จได้ 9. [จาก 7., 8., กับ modus tollens: เมื่อเหตุหรือข้ออ้างคือ (1) P → Q กับ (2) ¬Q เราสามารถสรุปได้ว่า ¬P] X ไม่สามารถทำ A ได้


bottom of page