
หนังสือวิจารณ์ ideology of choice ได้อย่างน่าสนใจ ถึงแม้เนื้อหาส่วนใหญ่จะพยายามอธิบายในกรอบจิตวิเคราะห์ของลากอง โดยส่วนตัวผมมีปัญหากับวิธีคิดของลากอง จึงไม่ค่อยเข้าใจนักเมื่อเรื่องเล่าแต่ละเรื่อง แต่ละประเด็นของผู้เขียนถูกโยงเข้ามาในมิตินี้ ไม่ใช่คำอธิบายของลากองฟังดูไม่ดีหรอกนะครับ แต่คำอธิบายเหล่านั้นจะอยู่บน axioms บางอย่างที่ชวนสงสัย และมีเหตุผลพอให้สงสัย ตัวอย่างหนึ่ง ตอนผู้เขียนอธิบาย "การเลือก" ผ่านสายตาคนอื่น (ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมที่ยอมรับได้ง่ายตาม common sense ว่าเป็นจริง และการยอมรับได้ง่ายนี้ ผมว่า เป็นเพราะทุกคนมีประสบการณ์ร่วมของการเลือกผ่านสายตาคนอื่นด้วยกันทั้งสิ้น ... ทีนี้ ผู้เขียนอธิบาย) ผ่านภาวะขาด jouissance ซึ่งได้เกิดขึ้นทันทีที่เด็กรู้จักใช้ภาษา และการขาดนี้ ทำให้เราต้องหาทางเอามันกลับมา jouissance จึงสัมพันธ์กับแรงผลักดันของพฤติกรรม เป็นสิ่งที่ทำให้ความปรารถนาของเราดำรงอยู่ เราจึงค้นหาสิ่งต่าง ๆ ด้วยความหวังว่ามันจะชดเชย jouissance ที่หายไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เราจึงมักจะไม่พอใจกับทางเลือกของเราอยู่เสมอ แต่กลับรู้สึกว่า บรรดาชาวบ้านนะ เค้าได้รับ jouissance ที่เราตามหาอยู่นี่หว่า อันนำไปสู่ความอิจฉา ริษยา จากนั้นก็โยงความคิดเรื่อง the Big Other ก่อนวกกลับมาจิกวาทกรรมทุนนิยมซึ่งสนับสนุน ideology of choice ที่อาจจะหลอกให้เราเชื่อว่า นี่เป็นหนทางสู่การดึง jouissance กลับมา สำหรับผมนะ จริงอยู่ มันฟังดูเป็นคำอธิบายที่ดูเป็นระบบ สวยงาม แต่ขณะเดียวกัน ทันทีที่เรายอมรับ axioms บางอย่างแล้ว ระบบการให้เหตุผลนั้นไม่เปิดโอกาสให้มีวิธีที่จะพิสูจน์ได้เลยว่ามันผิด ประเด็นในหนังสือ: ideology of choice เมื่อกระจายสู่มิติต่าง ๆ แล้ว ดีจริงหรือ?, ทำไมการมีตัวเลือกมากกลับทำให้เกิดความวิตกกังวลเพิ่มมากตามไปด้วย, โฆษณาต่าง ๆ ที่แข่งกันบอกเราว่า จงเป็นตัวของเรา พร้อมเสนอทางเลือกอันมากมายสู่การเป็นตัวของเรา นั่นจะทำให้เราเป็นตัวของเราผ่านการเลือกจริงรึเปล่า?, hooking up ล่ะ การเอากันแบบไม่ผูกพันธ์ ใช่ผลพวงจาก ideology of choice ด้วยไหม (แน่นอน คำตอบในหนังสือ คือ ใช่) แล้วมันดีหรือไม่ คำถามนี้ต่อเนื่องไปถึง การเลือกที่จะมีลูก เลือกที่จะมีลูกผ่านคนอื่น เป็นต้น คำถามหลังเชื่อมโยงกับปัญหาศีลธรรม นอกจากนี้ ยังครอบคลุมไปถึงทางเลือกที่ไม่ใช่ทางเลือก แต่ก็แสดงตัวออกมาในรูปของทางเลือก อย่างคนร้ายบอก "เอาเงินมา ไม่งั้นตาย" ใช่เขาเสนอตัวเลือกไหม หนังสือเล่มนี้สำรวจ ideology of choice และชวนคิดในประเด็นที่กล่าวมาได้ดี
The problem, the French philosopher Luis Althusser suggests, is that we don't notice the forms in which our lives are constructed. Society functions as something obvious, something given, almost natural. In order to understand the hidden imperatives, the codes of being, the secret of requirements that philosopher call 'ideologies', we need to remove the veil of obviousness and given-ness. Only then do we notice the bizarre highly ordered logic that we obey, unthinkingly, in our everyday lives.
The most important point about all these cases of so-called 'forced choice' is that we are not dealing simply with the absence of choice. The choice is offered and denied in the same gesture. However, the very fact that we can make the gesture of choosing, although the choice itself is a forced one, accounts for the fact that the subject is not determined by external or internal forces. This in turn accounts for the fact that subjectivity always involves a certain freedom, even if this freedom is only the freedom to form one's own defenses.