top of page

QBism


อย่างที่รู้กันว่ากลศาสตร์ควอนตัม นับตั้งแต่สมัยก่อร่างสร้างฐาน ก็สามารถตีความ mathematical formalism ได้หลากหลาย อาทิ ฟังก์ชั่นคลื่นยุบตัวแบบ Copenhagen หรือฟังก์ชั่นคลื่นไม่ยุบ แต่เอกภพแยกออกเป็นหลาย ๆ เอกภพตามจำนวนผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ แบบ many-worlds interpretation หรือที่มากกว่าการตีความนิดหน่อยอย่าง spontaneous collapse theories หนังสือเล่มนี้พูดถึงการตีความแบบหนึ่งที่คล้าย ๆ กับ Copenhagen แต่จะไม่พูดว่าฟังก์ชั่นคลื่นยุบตัว เพราะสำหรับ QBist นั้น ฟังก์ชั่นคลื่นไม่ใช่เหตุการณ์ทางกาพจริง ๆ ความน่าจะเป็นที่คำนวณมาจากฟังก์ชั่นคลื่น ไม่ได้มีลักษณะเป็น objective ไม่ใช่ frequentist แต่เป็นแบบ subjective Bayesian ฉะนั้น แทนที่จะพูดว่าฟังก์ชั่นคลื่นยุบตัว เขาก็จะพูดว่ามีการอัพเดทความน่าจะเป็นหลังจากที่ได้รับข้อมูลใหม่ ทำให้การถามคำถามว่าแมวเป็นหรือแมวตายก่อนเปิดกล่องจึงไร้ความหมาย ตามคำของ Asher Peres คือ "ไม่มีผลลัพธ์จากการทดลองที่ไม่ถูกทดลอง" (Unperformed experiments have no results.) เปรียบเทียบตามคำของ Baeyer คือ การพูดว่าแมวทั้งเป็นและตายแบบ superposition ก็เหมือนกับพูดว่าผลลัพธ์จากการโยนเหรียญเป็นทั้งหัวและก้อยตอนที่มันยังหมุนติ้ว ๆ อยู่กลางอากาศ เขาว่าถ้าถามปัญหานี้กับ QBist จะได้รับคำตอบ "ฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับแมวในตอนนี้ (หมายถึงตอนที่ยังไม่เปิดกล่อง) แต่จากความรู้ของฉันเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม ฉันเชื่อว่าถ้าฉันเปิดกล่องทันที มีโอกาส 50% ที่ฉันจะเห็นว่ามันยังไม่ตาย" ถ้าคุณเปิดกล่อง และแมวตาย คุณก็ไม่มีส่วนต่อความตายของมันอย่างสำนักที่บอกว่าการสังเกตของคุณทำให้ฟังก์ชั่นคลื่นยุบตัว ตัวอักษร B ใน QBism มาจาก Bayes เพราะโดยรากฐานแล้ว QBism เกิดจากการโจมตีความน่าจะเป็นแบบ frequentist ว่า Frequentism ไม่ consistent ตัวอย่างที่พูดถึงในหนังสือ (จากตัวอย่างในบทความของ Marcus Appleby อีกที) คือ สมมุติคนคนหนึ่งอยากรู้ว่าเหรียญ ๆ นี้เป็นเหรียญยุติธรรมมั้ย เขาทดลองโยน 100 ที แล้วจดลำดับการออกหัวออกก้อย แล้วนับจำนวน สมมุติว่าออกหัว 50 ที ออกก้อย 50 ที คำถามคือเขาสามารถสรุปได้มั้ยว่าเหรียญดังกล่าวยุติธรรม ประเด็นคือ ตรรกะที่เขาจะใช้อ้างได้ว่าเหรียญยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อยอมรับความย้อนแย้งบางอย่าง นั่นคือ เขาต้องสมมุติว่าการโยนแต่ละครั้งเป็นอิสระจากกัน และถ้า assign โอกาสออกหัวเท่ากับโอกาศออกก้อย โอกาสที่จะได้ผลลัพธ์สอดคล้องกับการทดลองมีสูงกว่ากรณีที่เรา assign โอกาสออกหัวหรือก้อยให้เท่ากับค่าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 0.5 ความย้อนแย้งเกิดขึ้นที่ frequentism ต้องยอมรับการมีอยู่ของ single-case probability ในฐานะที่เป็นอะตอมของทฤษฎีความน่าจะเป็น แต่ single-case probability เป็นสิ่งที่ไม่สามารถนิยามได้ในฐานะที่เป็นอะตอมของทฤษฎี แต่มันถูกนิยามโดยอ้อมผ่านการทดลองซ้ำ ๆ จำนวนมากครั้ง พวก QBist ยกจุดนี้ขึ้นมาแล้วชี้ว่านิยามความน่าจะเป็นแบบ Bayes ที่เป็น subjective มีความสอดคล้องมากกว่า (คุณจะยอมซื้อตัวที่เขียนว่า "ถ้าเหตุการณ์ E เกิดขึ้น คนขายตั๋วใบนี้จะจ่ายเงินให้แก่คนซื้อตั๋วในราคา 1 บาท" ด้วยราคาเท่าไร ราคานั้นแหละคือโอกาสเกิดเหตุการณ์ E) เมื่อโยกย้ายปรัชญาที่ค่อนข้างเป็น objective มาเป็น subjective (เน้นอีกทีว่า การคำนวณต่าง ๆ เหมือนเดิมทุกประการ) พวก QBist จึงบอกว่า กลศาสตร์ควอนตัมไม่ใช่ description ของโลก แต่เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เราทำความเข้าใจโลก QBism จึงมักถูกโจมตีในประเด็นที่ไม่ถือว่าฟังก์ชั่นคลื่นเป็น reality แต่อันที่จริงแล้ว QBist เชื่อว่ามี real world อยู่ข้างนอกนะฮะ (ภาคสุดท้ายของหนังสืออุทิศให้กับประเด็นนี้ QBist WorldView) นอกจากปัญหาเรื่องแมว หรือปัญหาเพื่อนของ Wigner ที่ QBism บอกว่าถ้าตีความแบบเขาแล้ว เรื่องเหล่านี้จะหมดไป ยังดึงลักษณะ locality กลับมาสู่ฟิสิกส์อีกด้วย ในควอนตัมฟิสิกส์ locality ดูเหมือนจะไม่จริงภายใต้สองสถานการณ์คือ การยุบตัวของฟังก์ชั่นคลื่น กับในการทดลองประเภท EPR แต่การที่ QBism ยอมทิ้ง realism จึงสามารถดึง locaility กลับมาได้ (ดูภาคที่ 3 ของหนังสือ) อ่านสนุกฮะ


bottom of page