
นี่เป็นหนังสือปรัชญา ปรัชญาชีวิตที่แตะต้องหลายแขนง อาทิ Metaphysics โดยเฉพาะ Ontology ... Sartwell อ้างว่า สิ่งที่มีอยู่จริงคือสิ่งที่มีโดยไม่ถูก transform, Ethics ... Sartwell ปฏิเสธการให้คุณค่าของสิ่งต่าง ๆ เพราะมันจะยิ่งทำให้สิ่งนั้นห่างออกจาก reality จริยศาสตร์ของเขาคล้าย ๆ กับจริยศาสตร์ของ Emerson (to be sincere turns out to be to be), Political philosophy ... Sartwell เป็น anarchist เขาตั้งคำถามถึง logical ground ว่าด้วยการดำรงอยู่ของรัฐแบบเดียวกับ Nietzche กับ Thoreau เขาว่า สุดท้ายแล้วรัฐก็เป็นเพียงความพยายามที่จะแปลงคนไปเป็น concept เช่น ฆาตกร ผู้มีสิทธิออกเสียง คิง ทั้งนี้ทั้งนั้น เพราะ abstraction คือที่ที่เราใช้หลบหนีโลกแห่ง concrete particulars ยามที่เราทนมันไม่ไหว ในด้านการเมือง เราจะได้อ่าน Havel เป็นหลัก นี่แค่ตัวอย่างนะฮะ
หนังสือแตะต้องปรัชญาสาขาอื่น ๆ อีกหลากหลาย แต่ทั้งหมดเปิดเผยตัวอยู่บนภววิทยาที่ว่า สิ่งที่มีอยู่จริงไม่ใช่สิ่งที่ถูก transform ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ (วิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในเครื่องมือ) แต่เป็นสิ่งที่ถูกรับรู้จากการเปิดตัวตนเข้าหามันในฐานะที่เราถูกฝังอยู่ในความจริงและเป็นส่วนหนึ่งของความจริง เราคิดว่าข้อโต้แย้งของเขาหลายจังหวะ บางท่อน มีน้ำเสียงคล้าย ๆ Rorty ผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา
แก่นของหนังสือคือการสำรวจผ่านคำถามว่า หากคนเราโอบกอดโลกอย่างที่มันเป็นและอย่างที่เขาเป็น ไม่ใช่อย่างที่มันควรจะเป็นและอย่างที่เขาควรจะเป็น นั่นคืออย่างที่ไม่ยอมให้ถูก transformed ด้วยเครื่องมือหรือกลไกบางอย่างเชิงปรัชญา เช่น ระบบศีลธรรมหรือการเมือง คนคนนั้นจะเป็นอย่างไร เมื่อดูจากรูปปก มนุษย์ผู้ชายหุ่นดี หลับตา แหงนหน้า อ้าแขน เปิดรับอะไรบางอย่าง สามารถใช้สะท้อน openness ของ Heidegger หรือภาวะตื่นรู้และ affirmation of reality แบบเซ็นหลังจากสะดุ้งผ่านความเจ็บปวดหรือ shock ของ Santayana (มีช่วงหนึ่ง เราอ่านแล้วนึกภาพเป็นอิคคิวถูกหลวงพ่อไกคังฟาดด้วยไม้ขณะทำสมาธิ) เพราะนี่เป็นช่องทางเดียวที่ Sartwell เชื่อว่าจะพาเราเข้าใกล้ reality
แก่นของหนังสือคือการสำรวจผ่านคำถามว่า หากคนเราโอบกอดโลกอย่างที่มันเป็นและอย่างที่เขาเป็น ไม่ใช่อย่างที่มันควรจะเป็นและอย่างที่เขาควรจะเป็น นั่นคืออย่างที่ไม่ยอมให้ถูก transformed ด้วยเครื่องมือหรือกลไกบางอย่างเชิงปรัชญา เช่น ระบบศีลธรรมหรือการเมือง คนคนนั้นจะเป็นอย่างไร เมื่อดูจากรูปปก มนุษย์ผู้ชายหุ่นดี หลับตา แหงนหน้า อ้าแขน เปิดรับอะไรบางอย่าง สามารถใช้สะท้อน openness ของ Heidegger หรือภาวะตื่นรู้และ affirmation of reality แบบเซ็นหลังจากสะดุ้งผ่านความเจ็บปวดหรือ shock ของ Santayana (มีช่วงหนึ่ง เราอ่านแล้วนึกภาพเป็นอิคคิวถูกหลวงพ่อไกคังฟาดด้วยไม้ขณะทำสมาธิ) เพราะนี่เป็นช่องทางเดียวที่ Sartwell เชื่อว่าจะพาเราเข้าใกล้ reality
จะว่าหนังสือเล่มนี้อ่านง่าย ก็ง่ายในแง่ที่มันพูดซ้ำ ๆ หลาย ๆ มุม จนเราเคลียร์ และจะว่าอ่านยากก็ยาก และบางทีก็เหมือนโดนตบ หนังสือสัมพันธ์กับเรื่องส่วนตัวของผู้เขียนสูง ทำให้อ่านแล้วถึงแม้เราจะไม่เห็นด้วยเยอะมาก แต่ก็อ่านจนจบและรู้สึกได้เรียนรู้ ใคร่ครวญ เดิมทีตั้งใจจะเขียนว่าเราไม่เห็นด้วยในเรื่องไหนบ้าง แต่พอคิดไปคิดมา คิดว่าไม่น่าจะมีใครที่อ่านเล่มนี้จบแล้วเห็นด้วยทั้งหมด เนื้อหาบางตอนก็เหมือนผู้เขียนจะเข้าใจบางอย่างในแบบที่ถ้าเป็นคนที่อยู่ในกรอบความคิดเหล่านั้น จะพูดว่าผู้เขียนเข้าใจผิด ตัวอย่าง ประเด็น denying the reality of death กลุ่มที่มีความคิดตามทฤษฎีของ Varki กับ Brower สามารถเถียงให้เห็นว่า ความคิดนี้มีข้อขัดแย้งในตัวเองได้แน่ ๆ แต่สุดท้ายเราคิดว่าประสบการณ์ในการอ่านสิ่งที่ไม่เห็นด้วยแต่ข้อโต้แย้งนั้น well-constructed ไม่ใช่แค่ข้อโต้แย้งหลวม ๆ และฟังดูจริงใจ เป็นประสบการณ์ที่งดงาม จนอยากเก็บให้มันเป็นพระเอกมากกว่าความไม่เห็นด้วยฮะ