top of page

Peak: How all of us can achieve extraordinary things


ใจความสำคัญง่าย ๆ ของหนังสือเล่มนี้คือ ไม่มีคนที่เกิดมาพร้อมพรสวรรค์ หรือถ้ามีสิ่งที่อาจเทียบเคียงได้กับการเกิดมาพร้อมพรสวรรค์ สิ่งนั้นก็มีผลกระทบเพียงน้อยนิดต่อผลสำเร็จในอนาคต ความจำที่เป็นเลิศจนดูเหมือนเหนือมนุษย์ เกิดจากการฝึก ความสามารถที่เรียกว่า perfect pitch เกิดจากการฝึก Child prodigies ไม่ว่าจะสาขาไหน ก็เกิดจากการฝึก ซ้ำยังเป็นการฝึกฝนที่เจ็บปวด อันที่จริงงานชิ้นหนึ่งของ Ericsson ร่วมกับ Krampe และ Tesch-Roemer ซึ่งศึกษานักเรียนไวโอลินในแบร์ลินในปี 1993 ว่าด้วย expert performers ได้ถูกทำให้เป็นที่สนใจแก่บุคคลนอกโลกวิชาการผ่านหนังสือ Outliners ของ Gladwell และ Gladwell ได้เสนอ กฎ 10,000 ชั่วโมง พูดว่า ถ้าอยากเป็น expert ในด้านใด ให้ฝึกฝน 10,000 ชั่วโมง ในหนังสือเล่มนี้ Ericsson โจมตีว่ากฎดังกล่าวอาจชวนคนอ่านให้เข้าใจคลาดเคลื่อนจากข้อความที่เขาอยากนำเสนอ ประเด็นของ Ericsson คือ การฝึกฝนนั้นอาจไม่นำไปสู่ความเชี่ยวชาญก็ได้ถ้าการฝึกฝนดังกล่าวเป็นเพียงแค่การทำซ้ำ ๆ ที่ไม่ใช่ deliberate practice ซึ่งเป็นคำสัญของหนังสือ Ericsson แบ่ง practice เป็น 3 แบบ คือ naive pratice, purposeful practice และ deliberate practice โดยทั่วไปในการสร้าง skill ใหม่ ๆ นั้นเราก็เริ่มจากเรียนรู้และฝึกฝนจนกระทั่งสามารถแสดงทักษะนั้นได้อย่างเป็นอัตโนมัติในระดับที่ยอมรับได้ วิธีทีเรียกว่า naive pratice เพียงพอที่จะทำให้เกิดทักษะในระดับแสดงออกได้อย่างอัตโนมัติ และเมื่อถึงระดับนี้แล้ว ถึงแม้เราจะฝึกฝนผ่านการทำซ้ำแบบเดิมต่อไปอีก Ericsson บอกว่าก็แทบไม่ช่วยให้เกิด improvement อันที่จริง performance ลดลงด้วยซ้ำ ตัวอย่างหนึ่งที่หนังสือยกมาประกอบคือการศึกษา performance ของแพทย์ที่มีประสบการณ์มาก ๆ ที่มักจะตกลงต่ำกว่า performance ของแพทย์ที่มีประสบการณ์เพิ่งผ่านจุดอิ่มตัวของทักษะอันนั้นมาไม่นาน และถ้าเราอยากพัฒนาทักษะให้ก้าวหน้าไปกว่าระดับที่ยอมรับได้ เราจำเป็นต้องใช้ purposeful practice ซึ่งประกอบด้วยลักษณะคือ 1. มี well-defined, specific goal ตัวอย่าง เป้าหมายไม่ใช่กว้าง ๆ ว่าตีปิงปองได้ดี แต่เจาะจงว่าการฝึกนี้เพื่อฝึกให้ตี topspin ได้ดี, 2. ต้องโฟกัส มันไม่ใช่การฝึกเพื่อความสนุกสนานอีกต่อไป, 3. ต้องออกจาก comfort zone ของตัวเอง บางทีการจะทำให้ทะลุผ่านจุดตันไม่ใช่ try harder แต่ try differently และ 4. การฝึกฝนจำเป็นต้องได้รับ feedback เพื่อให้รู้ว่าไปถูกหรือผิดทาง ... แต่กระนั้น Ericsson ยังว่า purposeful practice นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ถ้าเราอยาก 'achieve extraordinary things' เราต้องใช้ deliberate practice อันมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา mental structure หรือเพื่อสร้าง mental representation ที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะนั้น ๆ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากลักษณะ adaptability ของสมองมนุษย์ (ตัวอย่างสนับสนุนที่ Ericsson ยกมาเล่าคือขนาดของ hippocampus ของคนขับ taxi ที่ได้รับใบอนุญาตในลอนดอน) อันที่จริงแล้ว deliberate practice ก็คือ purposeful practice ที่มีจุดแตกต่างเพิ่มขึ้นมาสองเรื่อง คือ 1. มันใช้ได้กับทักษะที่ถูกพัฒนามายาวนานแล้ว พูดง่าย ๆ คือ มีคนรู้วิธีที่จะแสดงทักษะอันนั้นอย่างดีแล้ว และ 2. ต้องมีครูที่สามารถออกแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะที่เข้ากันกับผู้เรียน พี่น้อง Polgar และคุณพ่อคุณแม่ของพวกเธอถูกใช้เป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งในเรื่องนี้ หนังสืออ่านเพลินฮะ


bottom of page