top of page

The Elephant in the Room


500 ปีก่อนนิทาน The Emperor's New Clothes ของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน มีนิทานของชาวคาสติเลียนจากศตวรรษที่สิบสี่อยู่เรื่องหนึ่ง พูดถึงกษัตริย์มัวร์ผู้เสียค่าโง่ให้สิบแปดมงกุฏสามคนที่บอกว่า ฉลองพระองค์ชุดใหม่ที่พวกเขากำลังถักอยู่นี่นะ เป็นชุดวิเศษ เพราะคนที่เกิดจากพ่อแม่ซึ่งไม่ได้แต่งงานกันถูกต้องตามกฎหมายจะมองไม่เห็น ระหว่างดำเนินการถักทออยู่นั้น พระราชาสั่งให้คนรับใช้ไปดูความคืบหน้า ทีนี้ พอไปดูแล้ว คนรับใช้ก็อายที่จะยอมรับว่าตัวเองมองไม่เห็น จึงกลับมารายงานว่า ทุกอย่างเรียบร้อยดี ผ่านไปสักพัก พระองค์ก็ส่งคนไปอีก คนรับใช้คนที่สองก็รายงานเหมือนคนแรก พองานเสร็จ พระองค์ไปรับชุดมาใส่ ครั้นจะยอมรับว่าตัวเองมองไม่เห็นก็กลัวจะเสียบัลลังก์ สูญเสียพระราชอาณาจักร จึงเอ่ยชมความงามของชุดเสียยกใหญ่ บรรดาเด็ก ๆ เห็นนายชม ก็ต้องชมตามสิฮะ เอาใจนายนะเรื่องหนึ่ง แต่อีกเรื่องหนึ่งคือกลัวเสียชื่อเสียง ใครจะกล้าพูดว่ามองไม่เห็น กลัวจากกลายเป็นลูกนอกกฎหมาย ในเมื่อชาวบ้านเขาเห็นกันหมด ฉะนั้น ทุกคนจึงบอกว่าชุดสวย แม้โดยสันดานแล้วพวกเขาจะไม่ใช่ sycophant ก็เหอะ สุดท้าย ในเมื่อฉลองพระองค์งามซะขนาดนั้น ทุกคนชม พระราชาจึงทรงสวมใส่แล้วแห่รอบเมือง ชาวเมืองพูดถึงแต่ความงามอันวิจิตรของมัน จะมีก็เพียงคนไม่รู้ความคนหนึ่งที่กล้าพูดออกมาว่า "หากมิใช่กระหม่อมตาบอด ตอนนี้พระองค์ก็ทรงล่อนจ้อน" หลังจากนั้นไม่นาน คนอื่น ๆ ก็เริ่มพูดกัน

นิทานเรื่องนี้แหละคือ theme ของปรากฏการณ์ที่ Professor Zerubavel วิเคราะห์อย่างเป็นระบบในหนังสือ The Elephant in the Room: Silence and Denial in Everyday Life ปรากฏการณ์ดังกล่าวคือ conspiracy of silence ซึ่งถือเป็นอาการปรากฎของ social denial (ศัพท์ยืมมาจากความคิดเรื่อง denial ในทางจิตวิทยา) โดยมีมูลเหตุมาจากความกลัว อับอาย เจ็บปวด หรือขายขี้หน้า ซึ่ง conspiracy of silence นี้ตรงกับสำนวนเปรียบเปรย 'ช้างที่อยู่ในห้อง' ในภาษาอังกฤษ ทุกคนเห็นว่ามีช้างตัวใหญ่อยู่ในห้อง แต่ไม่มีใครพูดถึงมัน (นี่ไม่ใช่การไม่สังเกตเห็นมันนะฮะ มันเป็นช้างตัวใหญ่ เกะกะ และสร้างปัญหามาก) การไม่พูดถึงช้างจึงเป็นมากกว่า absence of action เนื่องจากทุกคนจงใจที่จะหลีกเลี่ยงยอมรับการมีอยู่ของมัน (actively avoid) ต่อหน้าสาธารณะ ทุกคนรับรู้ถึงสัญญาณที่ส่งถึงกันผ่านความเงียบ (แน่นอน ถ้าเขายังอยากรักษา social bond เอาไว้) และรับรู้ถึงแรงกดดันที่จะทำให้ช้างไม่มีอยู่ นี่คือสิ่งที่ Zerubavel พูดถึงในฐานะ normative pressure นอกจากนี้ เรารู้กันดีว่าความสัมพันธ์ในสังคมนั้นสัมพันธ์กับอำนาจ (power) และความเงียบรวมถึงการปฏิเสธช้างนี่ก็คือผลจากการกระจายอำนาจที่ไม่สมมาตร ฉะนั้นแรงกดดันที่เสริมอีกแรงหนึ่งจึงเป็น political pressure ต้องยอมรับว่าจุดนี้ Zerubavel วิเคราะห์และนำเสนอได้อร่อยมาก โดยเฉพาะประเด็นการใช้อำนาจเพื่อเปลี่ยนประเด็น (ความสามารถหนึ่งของอำนาจคือการ redirect others' attention by changing the subect หรือพูดว่า อำนาจในการควบคุม agenda) (ทำให้นึกถึงประโยคหนึ่งในหนังสือของ Umberto Eco ... So when there is no enemy, we have to invent one. และในเมื่อฟังก์ชั่นของ enemy คือการคุกคาม ฉะนั้น กระบวนการสร้างและ demonizing ศัตรู จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถใช้ปิดปากคนที่เริ่มพูดว่า มีช้าง!)

Conspiracy of silence เป็นความร่วมมือร่วมใจของคนกลุ่มใหญ่ คนเดียวทำไม่ได้ฮะ Dan Bar-On พูดถึงกระบวนการสร้าง double wall of silence ว่าการไม่ยกเรื่องบางเรื่องขึ้นมาพูดแล้วทำให้ทุกคนแกล้งมองไม่เห็นช้างนั้น มักอยู่ในสูตร "เธอไม่เล่า ฉันไม่ถาม" และการแกล้งมองไม่เห็นช้างจะสัมฤทธิ์ผลก็ต่อเมื่อทุกคนต้องมองเห็นช้าง แล้วเดินหลบหลีกเพื่อไม่ให้ชนมัน หลีกเลี่ยงการกระทำทุกอย่างที่อาจเปิดเผยว่ารับรู้ถึงการมีอยู่ของมัน รวมถึงการสร้าง background noise (Zerubavel เรียก conspiracy of noise) ขึ้นมาเพื่อกลบเกลื่อนความเงียบที่ชวนกระอักกระอ่วนนั้น ท้ายที่สุด ช้างจะตัวโตขึ้นตามเวลาและจำนวนคนที่มากขึ้น และสุดท้ายของสุดท้ายแล้วโอกาสของ silence breaker ที่จะดึงช้างจากเดิมที่ซ่อนอยู่ใน background ให้มาสู่ foreground ก็เพิ่มขึ้นตามเวลาและปริมาณคนด้วยเช่นกัน โดยผู้ทำลายความเงียบจะทำสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทำให้ช้างเป็นส่วนหนึ่งของ public discourse นอกจากนี้ Zerubavel ยังพูดถึงทั้งข้อดี (เช่น ในฐานะ social lubricant) และปัญหา (เช่น ลูปของความกลัว) จาก conspiracy of silence ผ่านการวิเคราะห์ cost-benefit ทั้งในระดับปัจเจกและสังคม

สนุก ได้เปิดหูเปิดตา และเป็นหนังสือเล่มแรกที่อ่านแล้วฟินของปีนี้


bottom of page