
อริสโตเติลกับนิวตันมีความคิดเกี่ยวกับเวลาแตกต่างกัน สำหรับอริสโตเติลนั้น ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็ไม่มีเวลา เวลาเป็นตัววัดการเปลี่ยนแปลง แต่สำหรับนิวตัน เวลายังคงไหลไปอย่างต่อเนื่องแม้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้เขียนบอกว่า มโนทัศน์เกี่ยวกับเวลาของเรานั้นได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากความสำเร็จในเชิงทำนายของนิวตัน โดยเฉพาะจากแคลคูลัส ในภาคแรกของหนังสือ Rovelli พูดถึงพัฒนาการของความเข้าใจเกี่ยวกับเวลาที่เปรียบเสมือนเปลือกของหัวหอมออกทีละชั้น ๆ อาทิ เวลาสูญเสีย unity กล่าวคือ เวลาเดินเร็วช้าไม่เท่ากัน หลังจากที่เราเข้าใจความโน้มถ่วงมากขึ้นจากสัมพัทธภาพทั่วไป ... เวลาสูญเสียทิศทาง เพราะกฎฟิสิกส์เพียงข้อเดียวที่แยกอดีตออกจากอนาคตคือกฎที่เกี่ยวข้องกับพลศาสตร์ของความร้อน หรือการไม่ลดลงของผลรวมของเอ็นโทรปี้ (หรือการเพิ่มขึ้นของ disorder) โดยผู้เขียนให้เหตุผลสำหรับเอ็นโทรปี้ (ซึ่งก็คือ volume ของ coarse-graining ใน configuration space หรือ phase space) ที่ไม่ลดลงนั้นเป็นเพียงภาพลวงตาในระดับ macro เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบ และเรา interact กับระบบภายใต้กรอบของสิ่งแวดล้อมจำกัด จึง register ตัวแปรได้เพียงไม่กี่ตัว [ตอนอ่านถึงเหตุผลของผู้เขียน ซึ่งอธิบายด้วยภาษาเรียบง่ายและมีความเป็นบทกวีตรงนี้นั้น เรานึกถึงทฤษฎีบทของ Liouville ที่บอกว่ามีการอนุรักษ์ volume ของ time-evolution ใน phase space ทำให้เห็นพ้องไปกับเหตุผลของเขา ทั้งนี้เพราะเอ็นโทรปี้ไม่ได้นิยามโดย volume ของบริเวณใด ๆ ที่ evolute ใน phase space แต่เป็น volume ของบริเวณที่เมื่อมองในระดับ macro แล้วไม่แตกต่างกัน] ทำให้ทิศทางของเวลาในระดับ fundamental จริง ๆ แล้วไม่มี ดังปรากฏในสมการพื้นฐานของทฤษฎี loop quantum gravity ที่พิจารณาความโน้มถ่วงว่ามีสมบัติทางควอนตัม แล้วพบว่าตัวแปรเวลาได้หายไปจากสมการ การมีอยู่ของอดีตกับอนาคต รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่าง cause กับ effect จึงเป็นผลสืบเนื่องจากการมีอยู่ของคน ... นอกจากอดีตกับอนาคตแล้ว เวลายังสูญเสียปัจจุบันไปตั้งแต่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ เพราะความคิดเกี่ยวกับปัจจุบันนั้นอ้างถึงได้กับเพียงสิ่งที่อยู่ใกล้กับเรามากพอในระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ปัจจุบันจึงไม่ใช่สิ่งที่จะถูก extend ได้ทั้งเอกภพ ผู้เขียนเปรียบเทียบว่า ปัจจุบันเป็นดั่งฟองอากาศที่อยู่รอบตัวเรา และเปลือกชั้นสุดท้าย (ตามลำดับที่ผู้เขียนเขียน) คือ เวลาสูญเสีย independence ให้กับ spacetime
ภาคสองของหนังสือ นอกจากภาษาสไตล์บทกวีแล้วยังมีความเป็นส่วนตัวสูง ผู้เขียนรำลึกถึงฮีโร่สองคนของเขา ได้แก่ Wheeler กับ DeWitt (สมการ Wheeler-DeWitt คือสมการความโน้มถ่วงแบบควอนตัมสมการแรกที่ไม่มีตัวแปรเวลา) และพรรณาโลกซึ่งไร้กาลเวลา ส่วนภาคสุดท้ายพูดถึงต้นตอของเวลา อันได้แก่การที่คน interact กับเอกภพแล้วรับรู้ตัวแปรเพียงส่วนน้อยทำให้เกิด impression ในระดับ macro (ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากวิวัฒนาการ) ว่า disoder เพิ่มขึ้น
ขอพูดถึงประเด็นเล็ก ๆ ประเด็นหนึ่งในบทส่งท้าย ผู้เขียนเชื่อว่าความกลัวตายเป็น error ของ evolution เราเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งของ Ajit Varki โดยให้เครดิต Danny Brower เป็นผู้เขียนร่วมด้วย เนื่องจากหัวใจของหนังสือเป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากความคิดของ Brower ที่ว่า ความสามารถในการหลอกตัวเองในเรื่องความตาย (นั่นคือ การพัฒนากลไลที่ใช้ปฏิเสธความตาย หลังจากที่บรรพบุรุษของเราเกิด self-awareness และพัฒนาความรู้ว่าคนอื่นก็มี self-awareness และสามารถ project ความตายของคนอื่นมาเป็นของเรา จนตระหนักถึงภาวะ mortality) นี่แหละที่ทำให้เราเป็นเรา ฉลามเพชรฆาตหรือชิมแปนซีที่มี self-awareness แต่ยังไม่สามารถพัฒนา complex mental abilities เหมือนเราได้ ก็เพราะขาดสิ่งนี้ ทำให้พวกมันไม่สามารถสร้างความคิดที่ว่า เอ็นโทรปี้เพิ่มขึ้นเพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบและไม่สามารถ register ตัวแปรทั้งหมดได้ ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นในแบบที่ทำให้ความไร้ระเบียบเพิ่มขึ้น (จำนวนสถานะที่สามารถ rearrange ได้เพิ่มขึ้น) เมื่อวัดในระดับ macro จึงทำให้เกิดเวลา ... ฉะนั้น ถ้ามองผ่านทฤษฎีของ Varki กับ Brower เราคงพูดว่า โชคดีนะฮะที่เกิด error ของวิวัฒนาการตามที่ Rovelli พูดถึง
อ่านสนุก