รวมเรื่องสั้นและบทกวี เก่าบ้าง ใหม่บ้าง 20 เรื่อง พร้อมพูดถึงที่มาที่ไป หรือสิ่งที่อยากพูดถึงเป็นการโหมโรงก่อนเริ่มแต่ละเรื่อง

1. Mile 81 ... เป็น novella ก่อนหน้านี้เคยออกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ Single Kindle เป็นเรื่องของเด็กชาย Pete ผู้ถูกกันออกจากแก๊งจักรยานจึงคิดไปพิสูจน์ความเก๋าด้วยการสำรวจจุดพักรถร้าง (Mile 81) บนอินเตอร์สเตต 95 คนเดียว แล้วเจอกับรถกินคนจากต่างดาว พล็อตชวนนึกถึง Christine หรือ From a Buick 8 ใช่ไหมฮะ ส่วนฉากบรรยายน้อง Pete พาจักรยาน Huffy ไป Mile 81 เพื่อหาอะไรแก้เบื่อในชีวิตเด็กประถมก็ชวนให้นึกถึง Stand By Me ฉะนั้น จะว่าไป Mile 81 เป็นลูกผสมระหว่างบรรยากาศของ Stand By Me กับความสยองของ Christine ... ลงตัวฮะ ความกวนตีนและอารมณ์ขัน 10/10 ความตื่นเต้นสนุกสนาน 10/10 เสียอย่างเดียว จังหวะแรกที่อ่านจบให้ความรู้สึกว่ามันง่ายไปนิด กำลังไฮค้างอยู่เลย พอรอให้นิ่งแล้วจึงเปลี่ยนใจ จบแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน
2. Premium Harmony ... ในบทเกริ่นนำก่อนเริ่มเรื่อง คิงว่าอย่าแปลกใจถ้ามันชวนให้นึกถึง Raymond Carver เพราะแกเขียนหลังจากอ่าน Carver ต่อเนื่องกันมากกว่า 20 เล่ม การลอกเลียนสไตล์เป็นเรื่องธรรมชาติ กระนั้น คิงเขียนเรื่องนี้ตอนอายุมากและมีสไตล์เป็นของตัวเองที่ชัดเจนแล้วมันจึงเป็น Carver ในแบบที่มีอารมณ์ขันดาร์ก ๆ งานของคิงตอนหนุ่มคล้าย Lovecraft, 'Salem's Lot ได้รับอิทธิพลจาก James Dickey, ส่วน Rose Madder เหมือนหลุดออกมาจากปลายปากกาของ Cormac McCarthy ... นี่แกเล่าเองนะ ... สำหรับ Premium Harmony ไม่ใช่เรื่องสยองขวัญใน sense ของเรื่องสยองขวัญที่จะแวบเข้ามาในหัวจังหวะแรก คู่ผัวเมียทะเลาะกันในรถระหว่างไปวอลมาร์ต ฝ่ายเมียเกิดอยากซื้อลูกบอลสีม่วงให้หลานจึงบอกผัวให้จอดรถหน้าร้านร้านหนึ่ง แล้วเข้าไปหัวใจวายตายในร้านนั้น แค่นั้นเอง แต่สยองขวัญใน sense ของการจับคู่ความสัมพันธ์ที่ผัวเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่าง ๆ อันแสดงถึงสันดานของคนที่ขาดความสามารถในการมีความรัก เป็นตลกร้ายและลึกฮะ
3. Batman and Robin Have an Altercation ... [สปอยล์] ลูกพาพ่อที่เป็นอัลไซเมอร์ไปกินข้าว พ่อแทบจำอะไรไม่ได้ยกเว้นเหตุการณ์สมัยแต่งตัวเป็นแบทแมนกับโรบินกับลูกชายคนนี้ในคืนฮาโลวีน (ลูกชายอีกคนหรือพี่ชายของตัวเอกตายไปหลายปีแล้ว) หลังจากกินข้าวเสร็จ ระหว่างทางกลับ เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน คู่กรณีไม่มีประกัน แถมลงมาทำร้ายคนเป็นลูก พ่อก็เลยฆ่าซะด้วยมีดสเต็กที่ขโมยมาจากร้าน ... คำถาม ถ้าคนเล่าไม่ใช่สตีเว่น คิง เรื่องนี้จะยังสนุกอยู่ไหม
4. The Dune ... [สปอยล์] อดีตผู้พิพากษาศาลสูงฟลอริด้าเรียกตัวทนายให้มาทำพินัยกรรมด่วน พร้อมเปิดเผยเรื่องลึกลับที่เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 80 ปีก่อนและทำให้เขาเสพติดมาจนทุกวันนี้ เขาจะพายเรือยังไปเกาะไร้ชื่อแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกล เพื่อดูชื่อที่ปรากฎบนเนินทราย เป็นชื่อของคนที่จะตายภายในหนึ่งเดือน ... อ่านสนุกฮะ ถึงแม้จะจบแบบที่คุณเดาได้สบาย ๆ ... เราชอบคำว่า addict ที่ถูกย้ำในเรื่องนี้ "An addict is an addict is an addict." ชวนในตั้งคำถามว่าผู้พิพากษาชราเสพติดอะไรจากการรู้ชื่อคนตายล่วงหน้า (แน่นอนว่า เขาไม่จำเป็นต้องรู้จักคนคนนั้น) ไม่มีเนื้อความตอนไหนบอกว่านี่เป็นความรู้ที่เขาจะเอามาใช้ประโยชน์ได้นอกจากเหตุการณ์ที่ดำเนินตามเรื่องครั้งนี้ (รู้แล้วใช่ไหมล่ะว่าชื่อใคร) และถึงแม้เราสามารถตีความว่า ความรู้ดังกล่าวสามารถเอามาใช้ประโยชน์ได้ กระนั้นคุณประโยชน์จากการใช้งานอย่างเดียวถึงขั้นทำให้ addict ได้เลยเหรอ ... ก็อาจจะนะ ... แต่เราเลือกที่จะตีความว่าตัวละครเสพติดในอำนาจบางอย่างของความรู้ซึ่งเผยตัวออกมาทุกครั้งว่าเป็นจริงถึงแม้มันจะไร้ประโยชน์มากกว่า
5. Bad Little Kid ... ตามโน้ตของคิง Bad Little Kid ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกในเล่มนี้ ก่อนหน้าเป็น ebook ฉบับภาษาฝรั่งเศสกับเยอรมัน โครงเรื่อง George Hallas ยอมปริปากเล่าให้ Leonard Bradley ผู้เป็นทนายฟังว่าทำไมเขาถึงฆ่าเด็กชายคนผมสีส้มแครอทจนทำให้ต้องถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการฉีดยาตาย ชวนให้นึกถึงองค์ประกอบอะไรหลาย ๆ อย่างใน Green Mile และเป็นเรื่องแรกใน collection ที่แทบไม่มีอารมณ์ขัน ยกเว้นประโยคท้าย ๆ ก่อนถูกฉีดยาที่ Hallas กัดพัศดีเรื่องเสื้อในวันที่เขาจะต้องตาย Where in the Christ did you get that shirt? ประโยคเดียวที่เรียกรอยยิ้มมุมปากจากคนอ่านได้ เป็นอารมณ์ขันร้าย ๆ ที่คิงเขียนให้ประโยคสุดท้ายในชีวิตของคนคนหนึ่งพูดแบบนี้ ... เด็กหัวแครอทคนที่ Hallas อัดกระสุนใส่ 6 นัดกลางถนนคนนั้นมีอายุแค่ 5-6 ขวบเองฮะ ไม่แปลกใจที่ใคร ๆ ก็อยากเห็นเขาตายตกตามไป แต่มัน 5-6 ขวบมาตั้งแต่ตอน Hallas เป็นเด็กประถมโน่นแหนะ กว่าจะฆ่ามันได้ Hallas ต้องวางแผนล่อออกมา ... แต่ใครจะเชื่อ
6. A Death ... คิงบอกว่า A Death เขียนโดยใช้ภาษาที่ไม่ใช่สไตล์ของเขา ทั้ง dry และ laconic คุณต้องเห็นด้วยแน่ ๆ ... Jim Trusdale ถูกจับข้อหาฆ่าเด็กหญิง Rebecca Cline เพื่อแย่งเงิน โดยมีหลักฐานชิ้นเดียวคือหมวกที่เขาสวมติดตัวตลอดเวลาถูกพบอยู่ใกล้ ๆ กับศพ, Trusdale ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา เขาเป็นคนซื่อ ๆ สมองทึบ นายอำเภอ Barclay ค้นตัวก็ไม่พบเหรียญเงินที่หายไป แต่สุดท้ายกลุ่มลูกขุนก็บอกว่าผิด เสนอให้แขวนคอ คนทั้งหมู่บ้านเชื่ออย่างนั้น ถึงขั้นเตรียมตะแลงแกงล่วงหน้า มีเพียงนายอำเภอที่เห็นว่าขาด justification ในการรักษา justice แต่ก็ช่วยอะไรมิได้ ... เนื้อเรื่องจบดีเหลือเกิน [ต่อไปนี้เป็นสปอยล์] เราชอบประเด็น justification กับลอจิกที่คิงเล่นนะ สมมุติเรายอมรับว่า 1+1 = 2 เป็นจริง การอ้างเหตุผล "เพราะ 1+1 = 2 ทำให้โลกหมุนรอบตัวเอง" คงทำให้คนส่วนใหญ่ส่ายหน้า เห็นว่าการที่ 1+1 = 2 ไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าโลกหมุนรอบตัวเอง ข้ออ้างแบบนี้ขาด justification และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวของนายอำเภอ ประเด็นที่คิงปล่อยหมัดอัดคนอ่านคือ คุณเห็นด้วยกับนายอำเภอใช่มั้ยล่ะ แต่อย่าก้าวไปไกลกว่านั้นอย่างนายอำเภอเด็ดขาด การอ้างเหตุผลที่ขาด justification ไม่ได้ invalidate ข้อสรุปจากข้ออ้าง (นั่นคือ "เพราะ 'เพราะ 1+1 = 2 ทำให้โลกหมุนรอบตัวเอง' เป็นการอ้างเหตุผลที่ห่วยแตกไม่ได้ทำให้โลกไม่หมุนรอบตัวเอง") ... แก่นของเรื่องเจ๋งใช่มั้ยล่ะ
7. The Bone Church ... คิงตกหลุมรักครั้งแรกตอนอายุ 12 จากการเขียนบทกวี The Bone Church เป็นบทกวีที่คิงเขียนขึ้นมาใหม่จากต้นฉบับเดิมที่สูญหายไปสมัยเรียนมหาวิทยาลัยเมนในปี 68 หรือ 69 เขาว่าถ้าคุณอ่าน Browning ก็อาจได้ยินเสียงของ Browning มากกว่าเสียงของเขา แต่ถ้าคุณไม่อ่านก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะจริง ๆ แล้ว The Bone Church เป็นเรื่องเล่าที่ถูกเขียนเพื่อความบันเทิงมากกว่า deconstruction ... พูดตรง ๆ ว่านี่เป็นเรื่องแรกใน The Bazaar of Bad Dreams ที่เราไม่ชอบ ไม่เข้าใจบทกวีสยองขวัญ เป็นเรื่องของคน 32 คนที่เดินทางเข้าป่าแล้วตายเกือบหมด มีเพียง 3 คนที่ไปถึง the bone church และมีเพียงหนึ่งคนที่รอดกลับออกมาเล่าเรื่องราวแลกเหล้าในผับบาร์ อ่านซ้ำสองรอบก็ไม่เข้าใจว่าคิงอยากสื่ออะไร ในบทกวีอาจมีข้อความเชิงปรัชญาบ้าง พูดถึงสภาพไร้ความหมาย การไม่อาจกำหนดได้ของชีวิตเหรอ
... Goddam life, I say, if you can't laugh you might as well laugh anyway.
อีกท่อน
Arr, ain't life grand? Life's a sucker in the throat, life's the gorge we all fall in, it's a soup and we all end up vegetables. Ain't I philosophical?
ก็อาจจะนะ แต่พอมองรวม ๆ แล้วส่วนอื่นไม่ได้สนับสนุนความคิดนี้สักเท่าไร จนสุดท้ายเราไม่เข้าใจ สรุป ไม่ชอบฮะ
8. Morality ... ในโน้ตต้นเรื่อง คิงพูดถึงความไม่ตายตัวของ morality เล่าว่า สมัยเรียนมหาวิทยาลัยแกเคยขายเลือด เคยรับจ้างเขียนบทความ เคยขโมยสเต็กกับแฮมเบอร์เกอร์แบบแพ็ค ซึ่งทำได้เฉพาะวันศุกร์ (แกเคยคิดจะขโมยไก่ แต่ไม่สำเร็จ เพราะแพ็คมันใหญ่เกินไป) แล้วสรุปว่าในบางสถานการณ์ ทุกคนขายได้ทุกอย่าง ... แก่นของ Morality นำเสนอสารเดียวกับเรื่องที่แกเล่าในโน้ตนั่นแหละครับ พระแก่ ๆ ผู้เพียบพร้อมทุกอย่างแต่ร่างกายตอนนี้ไม่สมบูรณ์นึกอยากทำบาปจึงจ้างผู้หญิงที่มาพยาบาลดูแลให้ช่วยทำบาปแล้วอัดวิดีโอมาให้ดู ฝ่ายหญิงต้องการเงิน หลังจากปรึกษากับสามีก็ตกลงรับทำบาปที่พระเสนอ จุดแข็งของเรื่องมี 2 จุด จุดที่หนึ่งคือคืนก่อนตัดสินใจที่สามีภรรยานอนปรึกษากัน จุดที่สอง การใช้ชีวิตที่เหลือของคู่นั้นที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจ ... เราชอบนะ ... เรื่องนี้ได้รับรางวัล Shirley Jackson ประเภทนิยายขนาดสั้น
9. Afterlife ... พูดถึงชีวิตหลังความตายของ William Andrews และสิ่งที่เขาพบเจอหลังจากเสียชีวิตด้วยมะเร็ง นี่เป็นความตายที่ทุกคนคาดหมายและเตรียมใจไว้ล่วงหน้า รวมถึงตัวนายบิลเองด้วย ช่วงบั้นปลาย เขาอ่านตำราหลายเล่มถึงสิ่งที่จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตหลังความตาย รวมถึงหนังสือกลุ่ม nde ครั้นพอตายจริง เขาเจอ Harris และเขาต้องตัดสินใจ ... [ต่อไปเป็นสปอยล์] ปรัชญาของคิงในเรื่องนี้น่าสนใจฮะ Harris ผู้ทำงานให้ใครก็ไม่รู้บอกบิลว่าเขามีทางเลือกอยู่ 2 ทาง ถ้าอยากกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมอีก กลับไปเกิดเป็นเด็กชาย William Andrews ด้วยน้ำหนักเจ็ดปอนด์ ผ่านเหตุการณ์แบบเดิมที่เขาเคยบอกกับ Harris มาหลายต่อหลายครั้งว่าจะแก้ไขให้ดีกว่าเดิมในชีวิตก่อนหน้า ๆ แต่ไม่เคยแก้ได้สำเร็จสักที ก็ให้เลือกเดินเข้าประตูหนึ่ง ในแง่นี้บิลมีสิทธิเลือกจักรวาลแบบ eternal recurrence ของนีทเช ("Everything has returned. Sirius, and the spider, and thy thoughts at this moment, and this last thought of thine that all things will return." ... นีทเช) และคำพูดของ Harris ที่บอกว่าบิลไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตแต่ละครั้งได้เลยนั้นแฝงนัยความคิดเรื่อง "will" ในแบบของโชเปนเฮาเออ ("Man can indeed do what he wants, but he cannot will what he wants." ... โชเปนเฮาเออ) ถ้าลอจิกนี้เป็นจริงใน order ที่สูงขึ้น (คือไม่ได้เป็นจริงแค่ใน order ของชีวิตตอนกลับไปเกิดเท่านั้น) มันจะทำให้การตัดสินใจเลือกประตูก็ไม่ใช่การตัดสินใจเลือกประตูเช่นกัน แต่ดูเหมือนคิงเหลือทางออกไว้ให้ will ที่ "free" (ถึงแม้เราจะไม่สามารถสรุปได้ว่ามันเป็นทางออกจริง ๆ หรือเป็นเพียงภาพลวงตาว่ามีทางออกลำพังจากตัวบทในเรื่องสั้น) โดยการเลือกอีกประตู ถ้าเลือกประตูนี้ คิงไม่มีอะไรจะพูดนอกจากสรุปว่าทุกอย่างจบ และว่างเปล่า เราไม่รู้ว่าจบแบบไหน นัตถิกหรือนิพพาน สูญหายไปเลยดื้อ ๆ เช่นนั้นหรือ คุณมีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าคุณจะไม่ exist ต่อจากนี้ไปรึเปล่า มันเหมือนการฆ่าตัวตายในชีวิตหลังความตายไหม ... Afterlife เป็นเรื่องที่านสนุกมากและมีคำถามทางปรัชญาน่าสนใจ
10. Ur ... เคยพูดถึงเรื่องนี้ในบล็อกไปแล้ว ตั้งแต่ตอนอ่านเวอร์ชั่น Kindle ฉะนั้น ข้าม (ถึงแม้คิงบอกว่ามันถูก considerably revised)
11. Herman Wouk Is Still Alive ... King เล่าอุบัติเหตุรถยนต์ของ Diane Schuler พร้อมเด็ก ๆ เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2009 ตอนออกจาก Hunter Lake Campground นั้นทุกอย่างดูปกติ ไม่มีกลิ่นเหล้า แวะหาอะไรกินที่ Mickey D's ตอนออกจากร้านก็ยังปกติดี ผ่านไปอีกสักพักมีคนเจอเธอจอดรถอ้วกข้างทาง เธอโทรศัพท์บอกที่บ้านว่าไม่ค่อยสบาย จอดรถพัก แล้วขับรถต่อผิดทางไปเกือบสองไมล์โดยไม่สนใจเสียงแตรหรือไฟหน้ารถชาวบ้านที่กะพริบเตือน จนกระทั่งชนกับ SUV ตายเกือบยกรถ (ลูกชายของเธอรอดคนเดียว ทาง SUV ตาย 3) ผลการตรวจศพพบอะไรคล้าย ๆ กับเธอดื่มเหล้า 10 แก้วขณะชน ฝ่ายสามียืนยันว่าเธอไม่ใช่นักดื่มแน่ ๆ คำถาม เกิดอะไรขึ้นในรถ เธอไปดื่มเร็วขนาดนั้นตอนไหน เธอคิดอะไรอยู่ถึงได้ปฏิเสธเสียงแตรหรือสัญญาณไฟเตือนจากคนรอบข้างขณะขับรถสวนทาง King บอกว่าเราคงไม่รู้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้หรอกครับ ทางเดียวที่จะเสนอคำตอบได้ก็เพียงผ่านนิยาย นั่นก็คือเรื่อง Herman Wouk Is Still Alive นี่แหละ เป็นเรื่องอุบัติเหตุ 9 ศพของคุณแม่ เพื่อนคุณแม่ กับลูก ๆ หลาน ๆ อีก 7 โดยมีคู่กวีชราชายหญิงที่ยังไม่ชราเมื่อเทียบกับ Herman Wouk เป็นผู้เห็นเหตุการณ์ ... Herman Wouk เข้ามาเกี่ยวนิดเดียว ตอนกวีคู่นั้นอ่านข่าว Wouk กำลังจะออกหนังสือเล่มใหม่ (เรื่องสั้นเรื่องนี้ของ King ตีพิมพ์ปี 2011 แต่เหตุการ์เกิดขึ้นปี 2010) แล้วประทับใจคำพูดของแก "The ideas don't stop just because one is old. The body weakens, but the words never do." จุดแข็งของเรื่องคือการแสดงพื้นเพแม่กับเพื่อนก่อนเกิดอุบัติเหตุ ชีวิตหญิงเดี่ยวเลี้ยงลูกที่ต้องดินรนในสังคมระดับกลางค่อนไปทางล่าง ซึ่งก็คือคนส่วนใหญ่ ขณะอ่าน คุณจะเริ่มกังวลว่ายังไง เมื่อไหร่ และเพราะอะไรความน่ากลัวจะเกิดขึ้น ถึงจุดหนึ่ง King ก็ทำให้มันเกิดขึ้น เราว่าความเป็นไปได้ที่ธรรมดาเรียบง่ายนั่นเป็นความสยองในชีวิตจริงครับ
12. Under the Weather ... สตีเว่น คิง บอกว่าในการเขียนงานส่วนใหญ่ เขาไม่ใช่นักเขียนประเภทตั้งจุดจบไว้ล่วงหน้า หมายความว่าขณะเขียนเขาไม่รู้ว่าเรื่องจะจบยังไง หลักการคือถ้าแกเองยังไม่รู้ แล้วคนอ่านจะรู้เหรอ ต่างกับจอห์น เออร์วิ่ง เออร์วิ่งเคยบอกคิงว่าเขาจะเริ่มจากตอนจบก่อน แล้วเรื่องถูกวางแผน วางโครงอย่างดีเพื่อไปสู่จุดจบที่วางเอาไว้ เรื่องสั้น Under the Weather เป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่คิงบอกว่าเขียนแบบเห็นตอนจบชัดเจน เป็นเรื่องที่แกยอมให้คนอ่านรู้นำคนเล่าเรื่องคือนาย Brad ชายผู้ฝันร้ายติดต่อกันหลายวันและมีลางว่าเรื่องไม่ดีกำลังตั้งเค้า ... ประโยคที่คิงพูดคุยกับคนอ่าน "this is one of those tales where it's okay for the reader to be one step ahead of the narrator." มีทั้งจริงและลวง จริงคือคุณรู้สิ่งที่ควรจะเป็นความลับหรือสิ่งที่ควรจะหักมุม (เตือน อาจจะสปอยล์ เปรียบเทียบกับรู้ว่านายเบตส์ก็คือแม่ตั้งแต่อ่านไซโคของรอเบิร์ต บล็อก ต้นเรื่อง) ลวงคือ จะพูดว่าคุณรู้ความลับนั้นก่อน Brad ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะเขาเลือกที่จะไม่ยอมรับความรู้นั้นต่างหาก และลวงคือ ความลับดังว่าไม่ใช่สิ่งที่ผู้อ่านจะหยุดอยู่แค่ครึ่งเรื่องนั้นแล้วพึงพอใจกับการคาดเดาของตัวเองได้ สิ่งที่ผู้อ่านไม่มีทางรู้ล่วงหน้าจนกว่าจะถึงประโยคสุดท้ายคือ Brad รับมือกับมันยังไง นั่นล่ะฮะ เสน่ห์ของคิง
13. Blockade Billy ... คิงบอกว่าคุณรักนิยายของ Patric O'Brian ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นกะลาสี และคุณไม่จำเป็นต้องเป็น jockey (หรือ bettor) เพื่อตกหลุมรักปมปริศนาในนิยายของ Dick Francis นี่ถือเป็นคำเตือนว่า Blockade Billy เป็นเรื่องเกี่ยวกับเบสบอลที่คุณน่าจะลองเปิดใจแม้คุณจะไม่ชอบเบสบอล ประเด็นของเราคือ ชอบ/ไม่ชอบเบสบอลเป็นคนละเรื่องกับรู้/ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเบสบอล ถ้าคุณไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเบสบอลเลยนอกจากภาพในหัวเพียงแค่ มันเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีคนขว้างบอล คนตีบอล คนจับบอล แล้วก็คนวิ่ง ๆ กัน เกือบ 80% ของเรื่องแทบไม่เข้าใจเลยว่าคำบรรยายเหล่านั้นมันสนุกตรงไหน ในด้านความเป็นตัวร้ายของตัวเอกก็ไม่ถึงกับน่าจดจำสักเท่าไร แต่สไตล์ที่เขาเขียนชวนให้เชื่อว่า วิธีการเล่าของ Granny ซึ่งในเรื่องเขาเป็นผู้เล่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาเนิ่นนานให้ King ฟังนั้น (ใช่ฮะ คิงใช้ตัวเองเป็นตัวละครตัวหนึ่ง จึงมีความเป็น metafiction) ดูมีชีวิตชีวา ... ถ้ารู้จักเบสบอลคงอินกว่านี้
14. Mister Yummy ... ดูผิวเผินเหมือนคิงที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับ AIDS และเกย์ แต่ไม่ใช่ฮะ มันเป็นเพียงแค่ settings หรือที่เขาพูดว่าเป็น framing device สิ่งที่เขาเขียนถูกสรุปได้ดีที่สุด้วยคำพูดของเขาเอง "What I wanted to write about was the brute power of the human sex drive." แต่ไม่มาในแบบที่คุณคาดคิดแน่ ๆ เพราะเหตุการณ์หลักในเรื่องพูดถึงช่วงใกล้ตายของเหล่าคนชรา ที่ความตาย project ตัวเองออกมาให้คนเหล่านั้นเห็นในรูปของวัตถุปรารถนาทางเพศสมัยหนุ่มสาว เป็นเรื่องที่น่ารัก มีอารมณ์ขัน และเก๋ไก๋เรื่องหนึ่งในชุดฮะ เชื่อว่าทุกคนที่อ่าน (โดยเฉพาะผู้ผ่านพ้นวัยหนุ่มสาว) คงคิดไปในทางเดียวกันว่า ถ้าเป็นเรา เราจะเห็นความตายมาเยี่ยมเยือนในรูปของใคร
15. Tommy ... บทกวีอีกบทหนึ่งที่รวมอยู่ในเล่มนี้ และเป็นบทกวีที่เราไม่เข้าใจ
16. The Little Green God of Agony ... ความเจ็บปวดเป็นปิศาจในอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถขับไล่ได้ผ่านพิธีกรรมทางศาสนา สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องนี้คือเป็นเรื่องที่ผู้เขียนเล่าถึงตัวเอก ซึ่งเป็นนักกายภาพบำบัด ที่เข้าไปรู้เห็นเหตุการณ์ขับไล่ความเจ็บปวดของลูกค้าที่ตัวเองดูแล ผู้เล่าไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวละครที่อยู่ในเหตุการณ์ จึงสะท้อนความคิดของคนที่ไม่เชื่อว่าความเจ็บปวดเป็นปิศาจหรือพระเจ้าที่สามารถสิงสู่คนได้จะพัฒนาไปแบบไหนเมื่ออยู่ในพิธีกรรมที่ดูเหมือนหลอกลวงนั้น
17. That Bus Is Another World ... ชอบไอเดียของเรื่องนี้ ชายคนหนึ่งขึ้น taxi ในวันที่จราจรคับคั่ง และพะวงว่าจะไปไม่ทันนัด รถติดหนักมาก บนรถบัสฝั่งตรงข้าม เขาเห็นผู้หญิงคนหนึ่งถูกฆ่า คิงบรรยายเรื่องนี้โดยสลับกันระหว่างสิ่งที่ชายคนนั้นคิดในหัว บทสนทนาของเขากับคนขับรถ ความกังวลว่าจะไปไม่ทันนัด และความคิดเมื่อเขามองเห็นถนน มองเห็นชีวิตที่อยู่บนรถคันอื่น และมองเห็นเหตุฆาตกรรมบนรถคันนั้น ขณะที่คนอ่านอยากรู้ว่าตัวเอกจะทำยังไง คิงก็ทำให้ผู้อ่านตั้งคำถามกับตัวเองไปด้วยว่า ถ้าเป็นเรา เราจะทำยังไง
18. Obits ... นี่คงเป็น Deathe Note ในแบบฉบับของคิง แต่คิงเลือกที่จะให้ตัวเอกยำเกรงพลังความสามารถอันนั้นของตัวเอง และเลือกที่จะหลบไปอยู่ในมุมสงบ
19. Drunken Fireworks ... เรื่องของสองครอบครัวริมทะเลสาบที่แข่งกันจุดดอกไม้ไฟตอนวันชาติว่าของใครจะใหญ่กว่ากัน เราว่ายาวและน่าเบื่อไปสักนิดสำหรับพล็อตนี้
20. Summer Thunder ... จบเล่มด้วยโลกยุคหลังสงครามครั้งสุดท้ายที่คนตายเกือบหมด และคนที่อยู่รอด ก็กำลังรอคอยวันตาย จึงเป็นการพูดถึงวิธีที่ตัวละครสองตัวเลือกให้ตัวเองตาย กับวิธีที่พวกเขาเลือกให้หมาตัวหนึ่งตาย ... พล็อตแบบนี้ดูผิดจากความเป็นคิงที่คุ้นเคยไปสักนิด แต่ก็ยังอ่านได้เพลิดเพลิน
เมื่อพูดโดยรวมทุกเรื่อง นี่เป็น collection ที่สนุกฮะ