top of page

อ่าน Van Inwagen's Consequence Argument against Compatibilism

ใน An Essay on Free Will (1983) Peter van Inwagen ใช้ consequence argument โจมตี compatibilism compatibilism คือ ความคิดที่ว่าการกระทำทั้งหมดของเราสามารถอธิบายได้และถูกกำหนดด้วยกฎทางกายภาพ (determinism) แต่ขณะเดียวกัน เราก็สามารถมี free will ในแง่ที่มันจำเป็นต่อความรับผิดชอบเชิงศีลธรรม นั่นคือ การมีอยู่ของ free will กับ determinism เป็นความคิดที่ compatible กัน แนวคิดกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า compatibilism van Inwagen บอกว่า compatibilism ผิด

กำหนดให้ U เป็นคำบรรยายที่สมบูรณ์ของสถานะของเอกภพ ณ ปัจจุบัน, U-1 คือ คำบรรยายที่สมบูรณ์ของสถานะของเอกภพก่อนที่เด็กชาย X จะเกิด, A เป็นการกระทำบางอย่างที่เด็กชาย X ไม่ได้กระทำ, และ L เป็นกฎธรรมชาติ

1. X ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง U-1 ได้ (พูดอีกอย่างว่า ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะของเอกภพก่อนที่เขาหรือเธอจะเกิดได้) 2. X ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง L ได้ (พูดอีกอย่างว่า ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงกฎธรรมชาติได้) 3. ถ้า determinism เป็นจริง แล้ว {(U-1 และ L) ⊨ U} (ให้ double turnstile แทน entail, ข้อความนี้แปลว่า ถ้า determinism เป็นจริง แล้ว U เป็นผลสืบเนื่องทางตรรกะจาก U-1 กับ L นี่ก็มาจากนิยามของ determinism เอง) 4. ถ้า X ทำ A ได้ แล้ว ¬U (ให้ ¬ แทน negation, ข้อความนี้แปลว่า ถ้า X กระทำ A แล้วล่ะก็ คำบรรยายที่สมบูรณ์ของสถานะของเอกภพ ณ ปัจจุบันย่อมไม่ใช่ U เพราะจากข้อกำหนด ได้กำหนดให้ A เป็นการกระทำบางอย่างที่ X ไม่กระทำ) 5. [จากข้อ 4.] ถ้า X สามารถทำ A ได้ แล้ว X สามารถทำให้ U เป็นเท็จได้ 6. [จาก 3. กับ transposition: (P -> Q) ⇔ (¬Q -> ¬P)] ถ้า X สามารถทำให้ U เป็นเท็จได้ แล้ว X สามารถทำให้ (U-1 และ L) เป็นเท็จได้ 7. [จากข้อ 6., 1., กฎของเดอมอร์แกน: ¬(P และ Q) ⇔ ¬P หรือ ¬Q, กับ disjunctive syllogism หรือ modus tollendo ponens: เมื่อเหตุหรือข้ออ้างคือ (1) P หรือ Q กับ (2) ¬P เราสามารถสรุปได้ว่า Q ] ถ้า X สามารถทำให้ (U-1 และ L) เป็นเท็จได้ แล้ว X สามารถทำให้ L เป็นเท็จได้ 8. [จาก 2.] X ไม่สามารถทำให้ L เป็นเท็จได้ 9. [จาก 7., 8., กับ modus tollens: เมื่อเหตุหรือข้ออ้างคือ (1) P -> Q กับ (2) ¬Q เราสามารถสรุปได้ว่า ¬P] X ไม่สามารถทำ A ได้ พูดอีกอย่างหนึ่งว่า "ถ้านิยัตินิยม (determinism) เป็นจริง นั่นหมายความว่า การกระทำของเราเป็นผลสืบเนื่องจากกฎธรรมชาติและสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อนานมา เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนเราเกิดเป็นสิ่งที่ไม่ขึ้นอยู่กับเรา อีกทั้งกฎธรรมชาติก็ไม่ขึ้นอยู่กับเรา ฉะนั้น ผลสืบเนื่องของสิ่งเหล่านี้ (รวมถึงการกระทำ ณ ปัจจุบันของเรา) ก็ย่อมไม่ขึ้นอยู่กับเรา"

[จาก Just the Arguments: 100 of the Most Important Arguments in Western Philosophy บรรณาธิการโดย Michael Bruce, Steven Barbone]


bottom of page