top of page

Bobby Fischer's Outrageous Chess Moves


ใครเล่น chess แล้วไม่รู้จัก Bobby Fischer นี่ถือว่าลบหลู่นะ หนังสือเล่มนี้ Bruce Padolfini รวบรวม 101 เกมของบ็อบบี้ที่ปิดฉากแต่ละเกมอย่างงดงามจนต้องนำมาศึกษา คำว่าปิดฉากนี่คือไม่เกิน 5 ทีสุดท้ายเป็นส่วนใหญ่ แต่ละเกมตั้งแต่ต้นจนจบ คุณ Padolfini ก็นำมาผนวกแบบเต็มรูปแบบไว้ท้ายเล่ม เรียกว่าเป็นบันทึกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์เกมที่สวยงามและเจาะลึกความคิดของบ็อบบี้ได้ดีทีเดียว คุณสามารถรู้จักว่าเขาเป็นคนยังไงได้ด้วยการดูว่าเขาเดินยังไง


ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางตอนจากหนังสือ


รูปแรกเป็นการพบกันระหว่าง Fischer กับ Luis Sanchez (Santiago, 1959) ตาต่อไปฟิชเชอร์ได้เดิน (สีขาว) คุณลองดูแล้วคิดว่าถ้าคุณเป็นฟิชเชอร์คุณจะเดินยังไงก่อนอ่านเฉลยในย่อหน้าถัดไป






ผมว่า เราเห็นได้ไม่ยากว่าสีดำกำลังจะจนถ้าไม่มีบิชอบ b4 ขวางทาง ก็กำจัดมันครับด้วยการเดิน Bd2!




ลองดูอีกข้อครับ อันนี้เจ๋งจริง เป็นเกมระหว่าง Fischer (ขาว) กับ Joaquim Durao (Havana, 1966 โอลิมปิกครั้งที่ 17) เหมือนเดิมนะ อยากให้คุณลองคิดก่อนค่อยดูความคิดของฟิชเชอร์
















เฉลย ฟิชเชอร์เดินม้าไปกินเบี้ย a5 ครับ น่าทึ่ง ได้เบี้ยฟรีไป 1 ตัวนำไปสู่ชัยชนะปลายกระดาน


 

เกมระหว่างบ็อบบี้กับ E. Osbun (Davis, California, 1964) ต่อไปบ็อบบี้สีขาวเป็นฝ่ายได้เดิน เราวิเคราะห์ดูเกมคร่าว ๆ พบว่าสีดำเหมือนจะได้เปรียบ มีเรือ 2 แม้ว่าขาวจะจ่อเบี้ยหนึ่งตัวเตรียมโปรโมท แต่ก็มีทั้งควีนดำและเรือดำกันท่าเอาไว้ คิงขาวเองก็อยู่ในสภาพง่อนแง่น ถ้าไม่มีเบี้ย c6 มาขวางควีน บ็อบบี้คงรอดพ้นชะตากรรมพ่ายแพ้ยาก แต่สภาพคิงดำก็ใช่ว่าจะปลอดภัยนัก หากไม่มีเรือ g4 ก็สิ้นวาสนาไปแล้วเหมือนกัน

บ็อบบี้เดิน Rxg4+ ดำก็ต้องตอบโต้ด้วย hxg4 (ไม่อย่างนั้นไม่รอด) สิ่งที่ผมเชื่อว่าทำให้หลายคนทึ่ง รวมถึง Osbun ด้วยคือ Qd3 ครับ (เทพใช่มั้ยล่ะ)

 

เกมต่อมาระหว่างบ็อบบี้กับ Enrique Mecking (Palma de Mallorca, Spain, 1970) ต่อไปบ็อบบี้สีขาวเป็นฝ่ายได้เดิน

แต้มนี้แค่กินเบี้ยฟรีตัวหนึ่งครับ แต่อย่างที่เรารู้กันคือหมากรุกฝรั่งเบี้ย 1 ตัวปลายกระดานมีค่าต่อผลแพ้ชนะ เทคนิคที่บ็อบบี้ใช้เรียกว่า zwischenzug (in between) แบบนี้ครับ Qxg7+ ดำก็ต้องเอาควีนกินคืน Qxg7 จากนั้นขาวจึงดอดไปกินเรือ Rxf6 ดำทำอะไรไม่ได้เลย แถมสุดท้ายก็ต้องถูกแลกควีนกับเรืออยู่ดีเพราะสภาพที่เรือขาว g3 กดอยู่นั่นแหละครับ

 

เกมระหว่าง Paul Keres กับ บ็อบบี้ (Bled, 1959) บ็อบบี้เป็นฝ่ายสีดำได้เดิน

คุณคงเห็นว่าบิชอบขาวไล่เรือดำ ควีนขาวอยู่ในตำแหน่งที่ทั้งขู่คุกคามเรือดำ c8 แล้วยังปกป้องคิงและเรือขาว d1 ตรงนี้มองออกไม่ยากว่าเดินควีนดำไป Qd5 จะจับกินได้ 2 ตัว แต่เราอาจติดปัญหาว่าเมื่อแลกเรือกันแล้วจะพาควีนออกจาก h1 ยังไงไม่ให้เสียบิชอบ c3 ใช่มั้ยครับ บ็อบบี้แก้ปัญหาตรงนี้ได้เรียบง่ายและสวยงามมากดังเหตุการณ์ต่อไปนี้


1. ... Qd5

2. Bxe8 Qxh1+

3. Ke2 Rxe8+

4. Kd3 Be1 ตานี้แหละครับ ที่ว่าเรียบง่ายและงดงาม

 

Fishcher vs Pal Benko (Bled, 1959) Candidates Tournament รูปนี้ Benko เพิ่งจะใช้ม้ากินบิชอบ (Nxb3) วิธีโต้ตอบมาตรฐานคือกินเข้าหาศูนย์กลาง ab แทนที่จะกินออกจากศูนย์กลาง cb มีวิธีไหนเข้าท่าอีกมั้ยครับ?

ลองดูฝ่ายบ็อบบี้ดี ๆ ผมว่าเขามีแผน Qh6 - Nh5 - Qg7+ จน แต่แผนนี้ก็ถูกทำลายได้ด้วย ef ของดำซึ่งพยายามเคลียร์แนวทแยงมุมของควีนดำ แล้วต่อด้วย f5 ป้องกัน Qg7+ จน ดูรายละเอียดจริง ๆ ดีกว่า


1 Qh6! ef

2 Nh5 f5

3 Rad1


เห็นเจตนาชัดเจนนะครับ และดำคงไม่หลงกลกิน b2


3 ... Qe5

4 Nef6+ Bxf6

5 Nf6+ Qxf6

6 Qxf6 Nc5

7 Qg5+ Kh8

8 Qe7! Ba6

9 Qxc5 Bxf1

10 Rxf1 และฝ่ายดำยอมแพ้

 

เกมระหว่าง Georg Tringov vs Fischer (Havana - New York โดย Teletype, 1965) รายการ Capablanca Memorial Tournament บ็อบบี้ (สีดำ) เป็นฝ่ายเดิน และต้องระวังขาวเล่น Qg8+ จน ดำควรทำอย่างไรดี?

ถ้าบุกคู่ต่อสู้ทันทีแล้วคู่ต่อสู้ไม่ตาย ก็ต้องป้องกันตัวเองก่อน เห็นด้วยมั้ยครับ?


1 ... Nf6!


ถ้า 2 ef ดำจะเล่น 2 ... Bxe6, 3 Qxe6 (หรือ 3 fg+ Bxg7, 4 Qxe6) 3 ... Qxg5 ดำได้เปรียบตัวหมากและทำลายการโจมตี


2 Bxc8 Nxe5!

3 Qe6 Neg4!


ตานี้ร้ายกาจจริง ฝ่ายขาวยอมแพ้ เพราะโจมตีทั้งบิชอบ c8, g5 และเตรียมทำจนโดย 4 ... Nf2+, 5 Kg1 Nh3+, 6 Kh1 Qg1+ จน

bottom of page